Than Money Trick 🚩 คลิปนี้ธัญมาสรุป #7เครื่องมือบริหารความเสี่ยงสภาพคล่องกองทุนรวม #LMTs ที่ผู้ลงทุนควรรู้ เป็นประโยชน์กับผู้ลงทุน #กองทุนรวม ทุกคน ห้ามพลาดเลยค่ะ
📺 ปกติเวลาเราลงทุนในกองทุนรวม ก็มักจะคาดหวังการเติบโตในระยะยาว ไม่เน้นการซื้อขายแบบรายวันเท่าไหร่นัก หลายคนอาจไม่ได้ติดตามราคาตลอดเวลา ตรงนี้เองที่บางครั้งผู้ลงทุนกองทุนรวมจะไม่ทันตั้งตัวหากเกิดเหตุการณ์ไม่ปกติกับตลาดกองทุนรวม และที่ผ่านมาเราอาจจะไม่มีตัวช่วยเท่าไหร่นัก ทำให้เวลาเกิดปัญหาขึ้นมาค่อนข้างกระทบพอสมควร
🧰 📈 การมีเครื่องมือ LMTs ทั้ง 7 จะเป็นตัวช่วยลดทอนการเกิดผลกระทบต่อเนื่องในวงกว้างและลดความรุนแรงของปัจจัยอื่นๆ ที่ บลจ. ไม่สามารถควบคุมได้ โดย บลจ.จะใช้เครื่องมือทั้ง 7 นี้ ไปตามแต่ละสถานการณ์ของตลาด และทาง บลจ. แจ้งเงื่อนไขและรายละเอียดของการใช้แต่ละเครื่องมือไว้ในหนังสือชี้ชวน ซึ่งแต่ละเครื่องมือจะถูกนำมาใช้ในสถานการณ์ที่แตกต่างกันออกไป ความหนักเบาไม่เท่ากัน ถือว่าช่วยผู้ลงทุนได้เยอะ จะมีอะไรบ้างมาดูกันค่ะ
🔵 เครื่องมือ กลุ่มที่ 1 : กลุ่มส่งผ่านต้นทุน (Pass on transaction cost) – Liquidity Fee : เรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากผู้ที่ขาย-สับเปลี่ยนหน่วยลงทุนออก มากเกินเงื่อนไขที่กำหนด – Swing Pricing : ปรับ NAV ให้สะท้อนต้นทุนการปรับพอร์ตกองทุนรวม – Anti-Dilution Levies (ADLs) : เก็บค่าธรรมเนียมจากผู้ซื้อ หรือผู้ขาย ให้สอดคล้องกับต้นทุนกองทุนรวมที่เพิ่มขึ้น
🔴 เครื่องมือ กลุ่มที่ 2 : กลุ่มลดหรือชะลอแรงซื้อขาย – Notice Period : กำหนดวันส่งคำสั่งขายล่วงหน้าหากต้องการขาย-สับเปลี่ยนหน่วยลงทุนออกเกินปริมาณที่กำหนด – Redemption Gate : จำกัดปริมาณการขาย-สับเปลี่ยนหน่วยลงทุนออก ให้ทำได้ตามสัดส่วน (Pro rata) – Side Pocket : แยกสินทรัพย์ที่มีปัญหาสภาพคล่องออกจากสินทรัพย์โดยรวมของกองทุนรวม – Suspension of Dealings : ระงับคำสั่งขายหน่วยลงทุนชั่วคราวไม่เกิน 5 วันทำการ (การใช้เครื่องมือนี้ ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขการควบคุม และข้อบังคับตามประกาศสำนักงาน ก.ล.ต. เท่านั้น )
✨ เพื่อนๆสายกองทุนรวม ที่เน้นลงทุนระยะยาว ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี ที่มี 7 เครื่องมือนี้ในการเข้ามาช่วย ไม่ให้กองที่เราถือราคาผันผวนเกินปกติ เพราะบางทีเราก็ไม่ได้จ้องตลาดการลงทุนตลอดเวลา ถือว่าช่วยสร้างความสบายใจได้ในระดับนึงเลยค่ะ
✨ ใครอยากรู้รายละเอียดเพิ่มเติม
ศึกษาได้ที่นี่ 👉🏻 https://bit.ly/3RnBQhp