มาแล้วค่ะอิป้าหามาเล่า วันนี้ดั๊นมีเรื่องดีๆ มีประโยชน์มานำเสนอกันอีกแล้วนะคะ เพราะในสภาวะที่ตลาดการลงทุนทั่วโลกมีความผันผวนแบบหัวจะปวดเยี่ยงนี้ ทำให้นักลงทุนส่วนใหญ่ให้ความใส่ใจกับ “กองทุนรวม” กันมากขึ้น ในช่วงตลาดผันผวนแบบนี้ผู้จัดการกองทุนรวมเขาจะบริหารความเสี่ยงกองทุนของเขากันอย่างไร ดั๊นมีคำตอบค่ะ
คือว่า ทางบริษัทจัดการลงทุน (บลจ.) เขามีตัวช่วย หรือตัดคัดกรอง ที่เป็น เครื่องมือบริหารความเสี่ยงสภาพคล่องกองทุนรวม (LMTs)เพื่อบริหารความเสี่ยงสภาพคล่องกองทุนรวมโดยเฉพาะ นั้นเองค่ะ ซึ่งสามารถจำแนกออกได้เป็น 7 เครื่องมืออันทรงพลัง มาดูรายละเอียดแบบง่ายๆ สบายๆ ของ7 เครื่องมือ เป็นน้ำจิ้มกันค่ะ
1.Liquidity Fee คือ เครื่องมือที่สะท้อนต้นทุนของกองทุนที่เกิดขึ้นในภาวะที่ตลาดมีความผันผวนสูงหรือมีการขายคืนหน่วยลงทุนหรือมีการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนออกของกองทุนนั้น ๆ สูงเกินกว่าปกติ โดยจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเฉพาะ “ผู้ขาย” หรือผู้สับเปลี่ยนหน่วยลงทุนออก ในจำนวนที่เกินกว่าปริมาณและ/หรือ ก่อนระยะเวลาที่กำหนด และเป็นการเรียกเก็บเข้ากองทุน
2.Swing Pricing เป็นเครื่องมือใช้ปรับมูลค่าหน่วยลงทุน เพื่อให้สะท้อนต้นทุนการซื้อขายของกองทุนในภาวะที่ตลาดมีความผันผวน โดยเพิ่มตัวแปร ที่ช่วยสะท้อนต้นทุนค่าใช้จ่ายและใช้ตัวแปรนั้นช่วยในการปรับมูลค่าหน่วยลงทุน ต้นทุนส่วนนี้อาจจะเป็นในรูปแบบของ spread cost, ค่าธรรมเนียมธุรกรรม, ค่าใช้จ่ายในการยืมทรัพย์สิน เป็นต้น
3.Anti-Dilution Levies (ADLs) เป็นเครื่องมือที่ทำให้การซื้อขายหน่วยลงทุนสะท้อนต้นทุนที่เกี่ยวข้องจากการปรับพอร์ตของกองทุน ในภาวะตลาดผันผวนสูงผิดปกติหรือสภาพคล่องผิดปกติ หรือเกิดเหตุการณ์อื่นที่อาจจะกระทบต่อต้นทุนและค่าใช้จ่ายของกองทุนรวม
ทั้ง 3 เครื่องมือนี้เป็นเครื่องมือในลักษณะส่งผ่านต้นทุนการทำธุรกรรม มีผลกระทบต่อมูลค่าซื้อขายหน่วยลงทุน ผู้ทำธุรกรรมในช่วงเวลาดังกล่าวต้องเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างความเป็นธรรมและรักษาประโยชน์ของผู้ถือหน่วยโดยรวม
ไปดูกันอีก 4 เครื่องมือที่เหลือนะคะ
4.Notice Period คือ เครื่องมือที่จะกำหนดระยะเวลาในการส่งคำสั่งเพื่อทำรายการขายคืนหรือสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนออกไว้ล่วงหน้าหากผู้ถือหน่วยทำรายการที่เกินกว่าปริมาณที่กำหนด เพื่อให้กองทุนมีเวลาในการเตรียมขายสินทรัพย์เพื่อมาชำระค่าขายคืนหน่วยนั่นเอง
5.Redemption Gate เป็นเครื่องมือที่ลดความร้อนแรงในการขายคืนหน่วยลงทุนหรือสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนออกในช่วงภาวะที่ตลาดมีความผันผวนผิดปกติหรือช่วงที่มีการขายคืนหน่วยลงทุนเกินกว่าระดับที่ตั้งไว้ ซึ่งคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุนหรือสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนออกที่เหลือจะทำการขายคืนให้ในวันทำการถัดๆ ไป
6.Side Pocket คือ เครื่องมือที่ทำให้กองทุนรวมสามารถแยกสินทรัพย์ที่มีปัญหาด้านสภาพคล่อง หรืออีกนัยยะหนึ่งก็คือสินทรัพย์ที่ไม่สามารถขายออกได้อย่างรวดเร็วหรือหากขายออกได้ก็จะได้ระดับราคาที่ไม่เหมาะสมเป็นอย่างมากทำให้ผู้ถือหน่วยลงทุนโดยรวมเสียประโยชน์ โดยในอนาคตเมื่อได้รับการชำระหนี้ หรือสามารถขายออกได้ในราคาที่เหมาะสม ก็จะทำการคืนเงินผู้ถือหน่วยลงทุนต่อไป
7.Suspension of Dealings คือการระงับการซื้อขายหน่วยลงทุนเป็นการชั่วคราวเพื่อลดผลกระทบต่อการบริหารสภาพคล่องของกองทุน และโดยเฉพาะเพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหารุนแรงมากขึ้นจนถึงขั้นปิดกอง จัดเป็นเครื่องมือที่มีผลกระทบสูง การใช้เครื่องมือถูกควบคุมดูแลจากสำนักงาน ก.ล.ต. เงื่อนไขของการนำมาใช้จะต้องคำนึงถึงประโยชน์โดยรวมของผู้ถือหน่วยลงทุน
จะเห็นว่าทั้ง 4 เครื่องมือชุดนี้เน้นไปที่การชะลอหรือจำกัดการทำธุรกรรม (Restrict access to investor’s capital) เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพคล่องกองทุนในขณะนั้นๆ จึงมีผลกระทบต่ออิสระในการทำธุรกรรมของผู้ถือหน่วยลงทุนหรือผู้ลงทุนทั่วไป
และที่กล่าวมาทั้งหมดคือ 7 เครื่องมือบริหารความเสี่ยงสภาพคล่องกองทุนรวม (LMTs) ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้การบริหารความเสี่ยงสภาพคล่องได้อย่างเป็นระบบ เพิ่มประสิทธิภาพ และยังช่วยยกระดับกองทุนรวมไทยให้เป็นไปในแนวทางเดียวกับสากลอีกด้วยค่ะ
ทำความเข้าใจ LMTs เพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3RnBQhp
***นอกจากนี้ 300 ท่านแรกที่เข้ามาทำแบบสอบถามเพื่อวัดความรู้ จะได้รับ Code ส่วนลดบัตรสตาร์บัค 200 บาท ฟรี ๆ กันไปเลยค่ะ คลิกเลย http://bit.ly/3ERK3Wb
อย่างไรก็ตาม อิป้าขอเน้นๆ เลยนะคะว่า 7 เครื่องมือบริหารความเสี่ยงสภาพคล่องกองทุนรวม (LMTs) นี้มาใหม่ และจะช่วย support เมื่อเกิดสถานการณ์ที่ผันผวนรุนแรงของตลาดหรือมีปริมาณธุรกรรมเกินปกติ เพื่อให้ลงทุนในกองทุนรวมแบบสบายใจ และมีความสุขมากยิ่งขึ้นนั่นเองค่ะ ซึ่งปกติกองทุนรวมเองก็จะมีการบริหารความเสี่ยง จัดการสภาพคล่องกองทุนตั้งแต่เริ่มกระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์ วางนโยบาย และประเมินความเสี่ยงของตลาดการลงทุนไว้อยู่แล้วค่ะ วันนี้ไปล่ะค่ะ บ๊ายย