นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน “กองทุนรวม” เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่อำนวยความสะดวกให้กับนักลงทุน เพราะไม่ต้องลงทุนเอง แต่ถือเป็น “หน่วยลงทุน” แล้วมอบหน้าที่ให้ผู้จัดการกองทุน (Fund Manager) ไปบริหารจัดการให้แทน เหมาะทั้งสำหรับนักลงทุนมือเก่า มือใหม่ เจ้าเล็ก เจ้าใหญ่ เนื่องจากมีบริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุน (บลจ.) ทำงานให้
ด้วยลักษณะความหลากหลายของกองทุน บางกองทุนเป็นกองปิด (ไม่สามารถขายคืนหน่วยลงทุนก่อนครบระยะเวลาที่กำหนด) บางกองทุนเป็นกองเปิด (สามารถซื้อ-ขายหน่วยลงทุนระหว่างระยะเวลาอายุของกองทุน) แถมยังมีการแบ่งลงทุนทั้งในตราสารทุน และตราสารหนี้ ซึ่งสภาพคล่อง หรือผลตอบแทนก็ต่างกันไป (ตามที่ระบุในหนังสือชี้ชวน) ให้นักลงทุนได้เลือกช็อปปิ้งกองทุนตามแต่ที่ชอบได้
แต่ด้วยปัญหาการขาดสภาพคล่องของบรรดาเหล่ากองทุนที่เคยเกิดขึ้นในอดีต เมื่อนักลงทุนต่างเทขายหน่วยลงทุนเป็นจำนวนมาก ผู้จัดการกองทุนจำเป็นต้องขายหน่วยลงทุนอย่างกะทันหัน พร้อม Volume ที่ค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับธุรกรรมปกติ สิ่งเหล่านี้อาจทำให้เกิดความเสียหายต่ออุตสาหกรรมการเงินการลงทุน ทั้งกับผู้จัดการกองทุน รวมไปถึงนักลงทุนที่ยังคงถือหน่วยลงทุนนั้น ๆ อยู่
สิ่งนี้เองเป็นเหตุให้สมาคมบริษัทจัดการลงทุน (AIMC) ร่วมมือกับ สำนักงาน ก.ล.ต. และธนาคารแห่งประเทศไทย ได้มีการนำ “เครื่องบริหารความเสี่ยงสภาพคล่อง” หรือ LMTs (Liquidity Management Tools) มาใช้ เพื่อแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น รวมไปถึงการยกระดับมาตรฐานการบริหารกองทุนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกับนานาประเทศ
นักลงทุนอาจเริ่มสงสัยว่า LMTs ที่พูดถึงคืออะไร มีระดับการใช้งานอย่างไร ? แล้วจะถูกนำมาใช้งานเมื่อไหร่ ? ใครจะได้รับผลกระทบบ้าง? สายกองทุนพลาดไม่ได้ !! วันนี้ “Wealth Me Please” จะพาทุกคนไปพูดคุยกับนางชวินดา หาญรัตนกูล นายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน และนายปราโมทย์ เล้าสมบูรณ์ Executive Director กลุ่มบริหารความเสี่ยง บลจ.ไทยพาณิชย์ ที่จะมาอธิบายเกี่ยวกับ “LMTs” ให้นักลงทุนได้เตรียมรับมือ เพราะ “กองทุนที่คุณถืออาจใช้ LMTs โดยที่คุณไม่รู้!!”
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (17 ม.ค. 66)